Verena Sure Nite

Sure Nite Dietary Supplement Product (VERENA TM) ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ชัวร์ ไนท์ (เครื่องหมายการค้า เวอรีน่า)

เลขสารบบอาหาร : 44-2-00162-5-0007

ปริมาณสุทธิ : 30 แคปซูล

น้ำหนักสุทธิ : 9 กรัม 

วิธีรับประทาน : รับประทานวันละ 1 แคปซูลก่อนนอน

คำเตือน : เด็ก สตรีมีครรภ์ และสตรีให้นมบุตร ไม่ควรรับประทาน

ไม่มีผลในการป้องกันหรือรักษาโรค ควรกินอาหารหลากหลายครบ 5 หมู่ในสัดส่วนที่เหมาะสมเป็นประจำ

ส่วนประกอบที่สำคัญ

  1. Magnesium oxide

แมกนีเซียมเป็นแร่ธาตุชนิดหนึ่งที่พบมากภายในเซลล์ของร่างกาย มีบทบาทสำคัญในกระบวนการสังเคราะห์สารชีวเคมีชนิด adenosine triphosphate (ATP) ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานของร่างกาย การทำงานของกล้ามเนื้อ ความคงสภาพของเยื่อหุ้มเซลล์ รวมถึงส่งผลต่อกระบวนการส่งสัญญาณประสาทหรือการหลั่งสารสื่อประสาทต่างๆ

เซลล์และอวัยวะทุกส่วนต้องการแมกนีเซียมเพื่อให้ทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกายเป็นปกติ แมกนีเซียมมีส่วนช่วยให้กระดูกแข็งแรง รวมถึงช่วยให้สมอง หัวใจ และกล้ามเนื้อทำงานได้ดี (1) มีรายงานว่าแมกนีเซียมอาจมีส่วนช่วยส่งเสริมให้เรนินและเมลาโทนินมีระดับที่สูงขึ้น ซึ่งเป็นฮอร์โมน 2 ชนิดที่ช่วยควบคุมการนอนหลับ (2)

  1. Gamma-Aminobutyric Acid (GABA) 

เป็นสารสื่อประสาทที่ทำงานเป็นตัวต้านกระแสประสาทจึงช่วยลดการกระตุ้นการทำงานของเซลล์สมอง เซลล์สมองจึงเกิดสมดุลในการทำงาน ทำหน้าที่กระตุ้นระบบประสาทพาราชิมพาเทติกส่งผลให้สมองลดการตื่นตัวเกินเหตุ ทำให้สมองเกิดความสงบ ลดความวิตกกังวล เพิ่มการเข้าใจการรับรู้ และยังช่วยควบคุมการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ จึงช่วยให้ร่างกายเกิดการผ่อนคลาย การนอนหลับ 

PharmaGABA® เพิ่มการผลิตคลื่นอัลฟาในขณะที่ลดคลื่นสมองเบต้า นำไปสู่ความรู้สึกผ่อนคลายและจิตใจสงบนิ่ง ส่งผลให้มีสมาธิและสามารถจดจ่อกับสิ่งที่ทำได้มากขึ้น

Adham M. Abdoua และคณะทำการศึกษาการทดสอบคลื่นสมอง โดยมีอาสาสมัครชาวญี่ปุ่นที่มีสุขภาพดี 13 คนยินยอมในการเข้าร่วมการศึกษานี้ โดยอาสาสมัครแต่ละคนได้รับน้ำคนละ 200 มล. ได้แก่ น้ำเพียงอย่างเดียว, น้ำที่มี GABA 100 มก. ซึ่งผลิตได้จากการหมักตามธรรมชาติโดยใช้แบคทีเรียกรดแลกติกสายพันธุ์เฉพาะ (Pharma-GABA, Pharma Foods International Co., ญี่ปุ่น) และ น้ำที่มี L-Theanine 200 มก. พบว่าหลังจากรับประทาน GABA อัตราส่วนระหว่างคลื่นอัลฟา/เบตามีค่าสูงอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเปรียบเทียบกับการรับประทานทั้งน้ำเพียงอย่างเดียวและ น้ำที่มี L- theanine ซึ่งสอดคล้องกับสภาวะผ่อนคลายและสภาวะต่อต้านความเครียด (3)

การเปลี่ยนแปลงของค่าอัตราส่วนคลื่นอัลฟา/เบตาหลังจากให้น้ำ (ควบคุม) ,L- theanine และกรดแกมมา-อะมิโนบิวทิริก (GABA) วัดด้วยเครื่องอิเล็กโทรเอนเซฟาโลแกรม (EEG) ค่าดังกล่าวเป็นค่าเฉลี่ย ± SEM ของค่าอัตราส่วนอัลฟา/เบตาจากการวัด 3 ครั้ง (ที่ 0, 30 และ 60 นาทีหลังการให้แต่ละครั้ง) * คือต่างกันจะแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ P < 0.05

  1. L-theanine

ธีอะนีนเป็นกรดอะมิโนซึ่งพบได้ตามธรรมชาติในต้นชา (Camellia sinensis) และมีส่วนทำให้ชามีรสชาติดี นอกจากนี้ ธีอะนีนยังเกี่ยวข้องกับผลต่างๆ เช่น การเพิ่มการผ่อนคลาย การปรับปรุงสมาธิและความสามารถในการเรียนรู้ มีงานวิจัยระบุว่าธีอะนีนสามารถช่วยลดอาการเครียดและวิตกกังวล ช่วยให้สมองสร้างคลื่นชนิดอัลฟ่า ทำให้นอนหลับได้เร็วและยาวนานขึ้นโดยไม่ทำให้ง่วงซึม (4)(5)

  1. L- carnitine

แอล-คาร์นิทีนเป็นอนุพันธ์ของกรดอะมิโนที่พบได้ตามธรรมชาติ ร่างกายสามารถสังเคราะห์แอล-คาร์นิทีนขึ้นเองได้เกิดจากกรดอะมิโนสองชนิด คือ ไลซีน (Lysine) และเมไธโอนีน (Methionine) หรือได้รับจากอาหารจำพวกเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากนม สร้างขึ้นที่ตับและไต และจัดเก็บไว้ในเซลล์กล้ามเนื้อ ซึ่งมีบทบาทสำคัญในกระบวนการเผาผลาญพลังงาน หน้าที่หลักของคาร์นิทีน คือ การถ่ายโอนกรดไขมันสายยาว (Long chain fatty acids) ไปยังไมโตคอนเดรียเพื่อให้เกิด β-oxidation จึงมีส่วนช่วยควบคุมไขมันในเลือด (6)

  1. L-arginine

แอลอาร์จินีน (arginine) เป็นกรดแอมิโน (amino acid) ชนิดหนึ่งและในทางโภชนาการจัดเป็นกรดแอมิโนที่จำเป็น (essential amino acid) สำหรับทารกและเด็กที่กำลังเจริญเติบโต  L-Arginine จะกระตุ้นให้ร่างกายผลิต ไนตริกออกไซด์ (Nitric Oxide) เพื่อช่วยในเรื่องการขยายตัวของหลอดเลือด รวมทั้งกระตุ้นการหลั่งโกรทฮอร์โมน (Growth Hormone) ซึ่งเป็นฮอร์โมนสำคัญในการคงความเป็นหนุ่มเป็นสาว ช่วยชะลอความแก่ (7) มีรายงานว่าแอลอาร์จินีนส่งเสริมการลดไขมันขาวและรักษามวลกล้ามเนื้อที่ปราศจากไขมันในระหว่างการลดน้ำหนัก (8)

  1. Artichoke extract (leaf)

อาร์ติโชค Cynara scolymus L. หรือ globe artichoke อาร์ติโชคเป็นพืชในวงศ์ Asteraceae หรือวงศ์ทานตะวัน ลักษณะเป็นไม้ล้มลุก ใบขนาดใหญ่ ขอบใบหยักเว้าลึก ปลายใบแหลม สีเขียวปนเทา ดอกช่อแบบกระจุกแน่น ทรงกลมถึงทรงกระบอก กลีบดอกสีม่วง เป็นผักมีคุณค่าทางอาหารสูง ในส่วนที่รับประทานได้ 100 ก. พบโปรตีน 3.4 ก. วิตามินซี วิตามินอี วิตามินบี 6 แคลเซียม เหล็ก กรดโฟลิก และยังพบฟีนิลอะลานีน (phenylalanine) กรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกาย (9) มีรายงานว่าสารสกัดจากใบของอาร์ติโชค สามารถลดระดับไขมันได้ทั้งคอเลสเตอรอลรวม คอเลสเตอรอลชนิด LDL และไตรกลีเซอร์ไรด์  (10)

  1. Prickly pear cactus extract (Opuntia robusta J.C. Wendl.

สารสกัดกระบองเพชร เป็นพืชตระกูลกระบองเพชรที่มีถิ่นกำเนิดในอเมริกากลางและอเมริกาใต้ และมีหลากหลายสายพันธุ์ ซึ่งในแต่ละสายพันธุ์จะมีสารประกอบทางเคมีที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งสายพันธุ์ Opuntia robusta J.C. Wendl. มีสารชีวมวลสูง มีรายงานว่าการรับประทาน Opuntia robusta เป็นประจำช่วยลดการบาดเจ็บจากออกซิเดชันได้ (11) ซึ่งเป็นสาเหตุ หนึ่งของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง อาทิ โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง และโรคไขมันเกาะตับ เป็นต้น (12)

  1. สารสกัดจากผลส้มแขก (Garcinia cambogia)

ส้มแขก ประกอบด้วยสารสําคัญ คือ กรดไฮดร็อกซีซิตริก (Hydroxycitric acid หรือ HCA) ซึ่งมีสมบัติยับยั้งการสังเคราะห์กรดไขมัน ลดความอยากอาหาร และ ช่วยลดน้ําหนักได้ จากการศึกษา Ramalingam Sripradha และคณะ ศึกษาผลของสารสกัดจากส้มแขกต่อปริมาณคอเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ และไขมันชนิดดี (HDL-C) โดยใช้หนูทดลองจำนวน 10 ตัว รับประทานสารสกัดจากส้มแขก 400 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม เป็นเวลา 10 สัปดาห์ พบว่ามีปริมาณคอลเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ลดลง แต่ปริมาณไขมันชนิดดี (HDL-C) เพิ่มขึ้น แสดงให้เห็นว่า สารสกัดจากส้มแขกมีส่วนช่วยลดปริมาณคอลเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ ยิ่งกว่านั้นยังมีส่วนช่วยเพิ่มปริมาณไขมันชนิดดี (HDL-C) ในเลือดได้ (13)

Reference

(1) de Baaij, J. H., Hoenderop, J. G., & Bindels, R. J. (2015). Magnesium in man: implications for health and disease. Physiological reviews, 95(1), 1–46.
(2) Abbasi, B., Kimiagar, M., Sadeghniiat, K., Shirazi, M. M., Hedayati, M., & Rashidkhani, B. (2012). The effect of magnesium supplementation on primary insomnia in elderly: A double-blind placebo-controlled clinical trial. Journal of research in medical sciences : the official journal of Isfahan University of Medical Sciences, 17(12), 1161–1169.
(3) Abdou, A. M., Higashiguchi, S., Horie, K., Kim, M., Hatta, H., & Yokogoshi, H. (2006). Relaxation and immunity enhancement effects of gamma-aminobutyric acid (GABA) administration in humans. BioFactors (Oxford, England), 26(3), 201–208.
(4) Williams J, Kellett J, Roach PD, McKune A, Mellor D, Thomas J, Naumovski N. l-Theanine as a Functional Food Additive: Its Role in Disease Prevention and Health Promotion. Beverages. 2016; 2(2):13.
(5) Kobayashi, K.; Nagato, Y.; Aoi, N.; Juneja, L.; Kim, M.; Yamamoto, T. Effects of l-theanine on the release of α-brain waves in human volunteers. Nippon Nogei Kagakukaishi 1998, 72, 153–157.
(6) Longo, N., Frigeni, M., & Pasquali, M. (2016). Carnitine transport and fatty acid oxidation. Biochimica et biophysica acta, 1863(10), 2422–2435.
(7) ผศ.ดร.พิมพ์เพ็ญ พรเฉลิมพงศ์ และ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.นิธิยา รัตนาปนนท์. [ม.ป.ป.]. แอลานีน. ค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2567, จาก https://www.foodnetworksolution.com/wiki/word/1253/alanine-%E0%B9%81%E0%B8%AD%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B8%99
(8) Lucotti, P., Setola, E., Monti, L. D., Galluccio, E., Costa, S., Sandoli, E. P., Fermo, I., Rabaiotti, G., Gatti, R., & Piatti, P. (2006). Beneficial effects of a long-term oral L-arginine treatment added to a hypocaloric diet and exercise training program in obese, insulin-resistant type 2 diabetic patients. American journal of physiology. Endocrinology and metabolism, 291(5), E906–E912.
(9) Dosi R, Daniele A, Guida V, Ferrara L, Severino V, Antimo DM. Nutritional and metabolic profiling of the Globe artichoke (Cynara scolymus L. ‘Capuanella’ heads) in province of Caserta, Italy. AJCS. 2013;7:1927-34.
(10) Bundy, R., Walker, A. F., Middleton, R. W., Wallis, C., & Simpson, H. C. (2008). Artichoke leaf extract (Cynara scolymus) reduces plasma cholesterol in otherwise healthy hypercholesterolemic adults: a randomized, double blind placebo controlled trial. Phytomedicine : international journal of phytotherapy and phytopharmacology, 15(9), 668–675.
(11) Budinsky, A., Wolfram, R., Oguogho, A., Efthimiou, Y., Stamatopoulos, Y., & Sinzinger, H. (2001). Regular ingestion of opuntia robusta lowers oxidation injury. Prostaglandins, leukotrienes, and essential fatty acids, 65(1), 45–50.
(12) กนกวรรณ จารุกำจร และวิลัดดา สินทร และชรินญา พิมพ์สอน. (2557). ความสัมพันธ์ของภาวะเครียดออกซิเดชั่นและภาวะไขมันในเลือดสูง. วารสารพิษวิทยาไทย, 29(1-2), 57-69.
(13) Sripradha, R., Sridhar, M. G., & Maithilikarpagaselvi, N. (2016). Antihyperlipidemic and antioxidant activities of the ethanolic extract of Garcinia cambogia on high fat diet-fed rats. Journal of complementary & integrative medicine, 13(1), 9–16.